National Software Contest,Thailand

Search


Bookmark and Share

หน่วยงาน

ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
มูลนิธิสยามกัมมาจล
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ศูนย์ประสานงานภูมิภาค

ศูนย์ประสานงาน NSC ภาคเหนือ
ศูนย์ประสานงาน NSC ภาคตะวันออก
ศูนย์ประสานงาน NSC ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ศูนย์ประสานงาน NSC ภาคกลาง
ศูนย์ประสานงาน NSC ภาคใต้
ศูนย์ประสานงาน NSC ภาคตะวันตก
NSC2013 National Software Contest 2015

โครงงานของนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ (Young Scientist Competition)

          สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ โดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติและ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ ได้เริ่มการประกวดเมื่อปี พ.ศ. 2542 ในสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (Engineering) ต่อมาในปี พ.ศ.2545 เพิ่มสาขาวิศวกรรมศาสตร์ (Computer Science) และปี พ.ศ.2549 ได้เพิ่มการประกวดในประเภททีม (Team Project) โดยเปิดกว้างในเกือบทุกสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โครงการฯ ได้จัดตั้งศูนย์ประสานงานส่วนภูมิภาค 4 ภาค คือ ภาคเหนือ-มหาวิทยาลัยนเรศวร ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ-มหาวิทยาลัยเทคโนโลยึสุรนารี และมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ภาคใต้-มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และภาคกลาง-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

          นอกจากนั้นยังได้รับความร่วมมือจากสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และบริษัท อินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด โดยโครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นและสนับสนุนเยาวชนในระดับมัธยม ศึกษา ให้มีโอกาสแสดงความสามารถและทักษะที่เป็นนวัตกรรมและความคิดริเริ่มสร้าง สรรค์ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระดับประเทศ และเพื่อคัดเลือกนักเรียนตัวแทนประเทศไทยสำหรับเข้าประกวดในงาน Intel International Science and Engineering Fair (Intel ISEF) ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา อันจะเป็นการยกระดับมาตรฐานและผลักดันผลงานของเยาวชนไทยสู่เวทีระดับนานาชาติ

          การประกวดโครงงานทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ระดับนานาชาติ (International Science
and Engineering Fair ) เป็นเวทีการประกวดแข่งขันผลงานทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับโลกที่ชุมนุมนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ที่มีความสามารถเยี่ยมยอดจากประเทศต่างๆ ทั่วโลก งานนี้นับเป็นการแสดงผลงานวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ถึง 6 เพียงรายการเดียวของโลกที่ครอบคลุมวิทยาศาสตร์สาขาต่างๆ มากที่สุด และนับเป็นเวทีที่ชุมนุมนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ที่มีอายุระหว่าง 12-20 ปี ทั้งนี้ มีจำนวนนักเรียนมากกว่า 1 ล้านคนทั่วโลกที่ได้เข้าร่วมในงานประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ สำหรับงาน Intel ISEF รอบชิงชนะเลิศ มีนักเรียนจำนวนกว่า 1,500 คน และจำนวนโครงงานที่เข้าร่วมมากกว่า 1,200 โครงงาน จาก 70 ประเทศทั่วโลก
        
          สำหรับประเทศไทยนั้น ได้เข้าร่วมการประกวด Intel ISEF ครั้งแรกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542  ในโครงงานประเภทบุคคล สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (Computer Science) และในปี พ.ศ.2545 ได้ส่งสาขาวิศวกรรมศาสตร์ (Engineering) เข้าประกวดเพิ่ม และเพื่อเป็นการเปิดวิสัยทัศน์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้เยาวชนมากขึ้น ในปี พ.ศ.2549 จึงได้เข้าร่วมประกวดในโครงงานประเภททีม (Team  Project) รวมทั้งมีการขยายสาขาการประกวดเป็น 8 สาขาในปีเดียวกัน

          ซึ่งประโยชน์จากการได้เข้าร่วมแข่งขันนั้น  นอกเหนือไปจากรางวัลที่จะได้รับจากการประกวดแล้ว  เด็กไทยยังได้มีโอกาสแสดงฝีมือในเวทีทางวิทยาศาสตร์ระดับโลก  ซึ่งนับเป็นประสบการณ์ที่มีคุณค่าทั้งสำหรับนักเรียนที่เข้าร่วมประกวดเอง และเป็นประโยชน์เป็นอย่างยิ่งต่อวงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศไทย